บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบล

11 มิ.ย. 63
บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบล

บทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ

ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องตรา “ข้อบังคับตําบล”ออกมาใช้ในการดูแลสวัสดิการ ตลอดจน “ทุกข์”

และ” สุข” ของประชาชนรวมทั้งมีอํานาจหน้าที่ถอดถอนผู้บริหารหรือสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตําบล

ดังนั้นจึงต้อง เป็นผู้ที่ยึดมนั่นในหลักการประชาธิปไตยทื่ต้องเผยแพร่และปลูกฝังแนวคิดประชาธิปไตย ไปยัง

ประชาชนในตําบล

แนวทางปฎิบัติในด้านบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติ มีดังนี้

1. ต้องยึดมั่นในกติกาประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งดดยเสรี การใช้สิทธิคัดค้าน การโต้แย้ง การแสดงความคิด

เห็น อย่างกว้างขวาง การยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฏหมาย ฯลฯ

2. ต้องมีวิถีการดําเนินชวีิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ฟัง

เคารพ ในเหตุผล

อบต. มีความสําคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตําบล)ดังนี้

1.เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่พัฒนาตําบล ให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกจิ สังคม และวัฒนธรรม

2.เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการ และหน่วยเอกชนอื่น ๆ

3.เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น(สมาชิกสภา อบต.) เขาไปมีส่วนร่วมใน

การ ตัดสินใจใช้งบประมาณ รายได้ ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น

4.เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถนิ่ ให้ทํางานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นในท้องถิ่น เช่น

สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.

5.ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทํางานและใช้สิทธิ

ถอดถอน ผู้แทนของตน(สมาชิกสภา)ที่ไม่ทํางานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น

สมาชิก อบต. มีหน้าที่อะไรบ้าง

สมาชิก อบต. มีหน้าที่

1. ให้ความเหน็ชอบแผนพัฒนาตําบล

2. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตําบล / ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปี

3. ควบคุมการทํางานของคณะผู้บริหาร

4. เข้าร่วมประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม

คณะผู้บริหาร อบต. (นายก อบต. และรองนายก อบต.) มีหน้าที่อะไรบ้าง 

คณะผู้บริหาร อบต.มีหน้าที่

1. บริหารงานของ อบต. ให้เป็นไปตามข้อบังคับ และแผนพัฒนาตําบล

2. จัดทําแผนพัฒนาตําบลและข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปีเสนอต่อสภาอบต.

3. รายงานผลการทํางาน และการใช้เงินสภา อบต. ทราบ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

4. ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ทางราชการมอบหมาย เข้าร่วมประชุมกับสภา อบต. ตามสมัยประชุม

อบต.มีโครงสร้างอย่างไร โครงสร้าง

อบต.ประกอบด้วย

1.สภาองค์การบริหารส่วนตําบล (สภา อบต.)

2.คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบล (นายก อบต. และรองนายก อบต.)

ประชาชนในเขตอบต. มีสิทธิและหน้าที่ดังนี้

1. มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบต.

2. ถอดถอนสมาชิกหรือผู้บริหาร อบต.

3. เสนอให้ออกข้อบังคับตําบล

4. แสดงเจตนารมณ์ในการรวม อบต.

5. เข้าฟังการประชุมสภา อบต.

6. เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการการซื้อ การจ้าง โดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา และวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อย

คณะละ 2 คน

7.มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบต.

8. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับตําบล

9. เสียภาษีแก่ อบต.

10. สนับสนุนและร่วมกิจกรรมกับ อบต.

11. ติดตามและดูแลการใช้จ่ายงบประมาณของ อบต.

12. ร่วมกันเสริมสร้างชุมชน และประชาคมหมู่บ้าน ของตนให้เข้มแข็ง

13. ได้รับบริการสาธารณะ และการบําบัดทุกข์ บํารุงสุข จาก อบต. ตามอํานาจหน้าที่ของ อบต.