กิจกรรมงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล (ประเทศไทย)
10 ธ.ค. 63เมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. องค์การบริหารส่วนตำบลค้างพลู ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางจังหวัดนครราชสีมาได้จัดงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล (ประเทศไทย) ภายใต้แนวคิด “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต” โดยนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (ประเทศไทย) จังหวัดนครราชสีมา ณ ห้องประชุมตะโกราย 1 อาคาร 35 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยนายปริญญา วิกุลศิริรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงาน เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมตระหนักในผลเสียหายร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากการ ทุจริตคอร์รัปชั่น ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กร หน่วยงาน และทุกภาคส่วน ร่วมมือกันในการป้องกันการทุจริต ลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในเทศไทย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ประเทศ และสร้างกลุ่มเครือข่ายป้องกันการทุจริต โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การแสดงจากวิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา การมอบรางวัลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงนภาครัฐ หรือ ITA จำนวน 8 หน่วยงานที่ได้คะแนนระดับดี (A) ได้แก่
1) จังหวัดนครราชสีมา
2) เทศบาลนครนครราชสีมา
3) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเยี่ยม อำเภอโชคชัย
4) องค์การบริหารส่วนตำบลคูขาด อำเภอคง
5) องค์การบริหารส่วนตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอโชคชัย
6) องค์การบริหารส่วนตำบลดอน อำเภอปักธงชัย
7) องค์การบริหารส่วนตำบลโค้งยาง อำเภอสูงเนิน
8) องค์การบริหารส่วนตำบลหลุ่งประดู่ อำเภอห้วยแถลง
จากนั้น นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้อ่านประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริตและนำผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านทุจริต พร้อมกับแสดงสัญลักษณ์ด้วยการทำลายลูกโป่งต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งภายในงานมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักเรียน นักศึกษาและประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 300 สำหรับวันต่อตันคอร์รัปชั่นสากล (international Anti Corruption Day) ถือกำเนิดขึ้นหลังจากที่ประชุมใหญ่สหประชาชาติ (UN) มีติเห็นชอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต พ.ศ.2546 (UnitedNationsConvention Against Corruption – UNCAC , 2003) เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2556 จากนั้นประเทศภาคีเครือข่ายสหประชาชาติจำนวน 191 ประทศ รวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามในอนุสัญญาฯ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ณ เมืองเมอริด้า ประเทศเม็กซิโก ด้วยเหตุนี้ องค์การสหประชาชาติ จึงประกาศให้วันที่ 9 ธันวาคมเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชั่นสากล โดยอนุสัญญา ได้กำหนดประเด็นความร่วมมือที่สำคัญของรัฐภาคี 3 ประการ ได้แก่ ด้านมาตรการเชิงป้องกัน ทุกประเทศต้องมุ่งป้องกันปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นอันดับแรก ด้วยการบัญญัติความผิดทางอาญาทุกประเทศต้องถือว่าการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ คือ อาชญากรรม และด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ทุกประเทศต้องให้ความร่วมมือในการทำให้อนุสัญญาฯ มีผลในทางปฏิบัติได้จริง